วัดกัลยาณมิตร






วัดกัลยาณมิตร  วรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร  ตั้งอยู่ปากคลองบางกอกใหญ่ (ฝั่งใต้)
แขวงวัดกัลยาณ์  เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 
      พื้นที่เขตวิสุงคามสีมา  กว้าง 31.75 เมตร ยาว  41.63 เมตร 
      ทิศเหนือติดแม่นำเจ้าพระยา
      ทิศใต้  มีคูหลังวัดเป็นเขต
      ทิศตะวันออก  มีคูข้างวัดเป็นเขต
      ทิศตะวันตก ติดคลองบางกอกใหญ่
ในราชมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  เจ้าพระยานิกรณ์บดินทร์ (เจ้าสัวโต)  ต้นสกุลกัลยาณมิตร ครั้งยังป็น
พระยาราชสุภาวดี เจ้ากรมพระสุรัสวดีกลาง  ได้อุทิศบ้านเรือนและชื้อที่ดินบริเวณใกล้เคียง ซึ่งเดิมเป็นหมู่บ้านที่พำนักของ
พระภิกษุจีน มีกุฎิและศาลาเจ้าที่เรียกว่า (เกียงอันเก๋ง) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด ดังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้หมู่บ้านแห่งนี้
จึงเรียกว่า "หมู่บ้านกุฏิฝรั่ง"   ทางทิศตะวันออกของวัดกัลยาณมิตร มีหมู่บ้านชาวมุสลิม เยกว่า"กุฏิขาว"เมื่อชื้อที่ดินได้ตามประสงค์จึงสร้างวัดขึ้น ใน พ.ศ. ๒๓๖๘  ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานนามอันเป็นสิริมงคลว่า วัดกัลยาณมิตร
ปูชนียสถาน
พระวิหารหลวง  
        สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๓๘๐  ได้รับพระมหากรุณาพระราชทานช่วยจาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว   เป็นพระวิหาร
ที่ใหญ่ที่สุดในวัดสร้างได้สัดส่วนงดงามมากการก่อสร้างนั้นวางรากฐานโดยไม่ได้ตอกเสาเข็ม ใช้วิธีขุดพื้นเป็นสี่เหลี่ยมฐานกว้างใช้ไม้ซุงทั้งท่อนเรียงทับซ้อนกัน ๒-๓ ชั้น จึงสร้างพระวิหาร  พระวิหารมีขนาดกว่าง 31.42 เมตร  ยาว  35.48  เมตร  ลักษณะก่อสร้างเป็นสถาปัตยกรรมไทย ก่ออิฐถือปูน  หลังคามุงกระเบื้องเคือบ  ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงษ์ เชิงชาย  หน้าบันสลักลายดอกไม้ปูนปั้นประดับกระจก  ประตูและหน้าต่างเป็นไม้สักหนาแผ่นเดียว ประดับลายรดนำลายทองรูปธรรมบาล  ด้านในพระวิหารหลวงมีผนังประดับลายดอกไม้ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙  ได้รับการอนุกษ์ซ่อมแซมโดยโครงการมรดกโลก
        ด้านหน้าพระวิหารหลวงมีตุ๊กตาหินศิลปะจีน  ที่เรียกว่า อับเฉา ตังเรียงรายหน้าพระวิหารหลวง  หรือที่เรียกว่าเชียน  ถัดจากนั้นมา มีซุ้มประตูหินศิลปะจีนตั้งอยู่  หรือที่เรียกว่า ประตูสวรรค์  พระวิหารหลวงนี้เป็นที่ปดิษฐาน  พระพุทธไตรรัตนนายก
        
  คนไทยนินมเรียกว่า  พลวงพ่อโต คนจีนเรียกว่า ชำปอกง  (ชำปอฮุคกง)  สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินก่อพระฤกษ์พระโต  เมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๘๐   หลวงพ่อโตพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานคร หน้าตักกว้าง ๑๑.๖๕ เมตร สูง ๑๕.๔๕ เมตร  พระบาทสมเด็จพระนั่งเจ้าอยู่หัวมีพระประสงค์ที่จะสถาปนาวัดในกรุงรัตนโกสินทร์ ให้มากเหมือนกรุงเก่า (กรุงศรีอยุธยา)  และมีพระราชดำริที่จะให้มีพระโตอยู่ในกรุงรัตนโกสิน เหมือนพระโตวัดพนัญเชิง   เมื่อเจ้าพระยานิกรบดินทร์(โต)สร้างพระโตขึ้น  จึงพระราชทานเงินช่วยเหลือ
         

         พระอุโบสถ   ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระวิหารหลวง  ฐานที่ตั้งเดิมเป็นที่ที่ตั้งบ้านของเจ้าพระยานิกรบดินทร์  เป็นอุโสถที่ก่ออิฐถือปูน  ขนาดกว้าง๒๑.๘๘ เมตรยาว  ๓๑.๙๐ เมตร ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีน  ไม่มีช่อฟ้าและใบระกา  หน้าบันประดับปูนปั้นลายดอกไม้ประดับกระเบื้องเคลือบสลับสีลายจีน ซุ้มประตูและหน้าต่างปั้นลายดอกไม้ประดับกระจก  ภายในพระอุโบสถ มีภาพจิตกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพุทธประวัติและรูปเคื่องบูชาม้าหมู่แบบไทยปนจีน    เสาเขียนลายทรงข้าวบินฑ์  โดยมีพระพุทธรูปบางป่าเรไลยก์เป็นพระประธาน  ขนาดอังสา  กว้าง๖๐ เซนติเมตร  สูง  ๕.๖๕  เมตร  เล่ากันมาว่า เดมทีเจ้าพระยานิกรบดินทร์ จะสร้างพระพุทธรูปปางอื่นเป็นพระประธานในพระอุโบสถ  แต่ยังมิทันสร้าง  พระบาทสมเด็จพะรนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ โปรกกระหม่อมให้สร้างพระพุทธรูปปางป่าเรไลยก์ เป็นพระประธานพระราชทานช่วยเสียก่อน  พระพุทธป่าเรไลยก์จึงเป็นพระประธานในพระอุโบสถ
    
       หอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ        หอพระธรรมมณเฑียรเถลิงพระเกียรติ  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯโปรดกระหม่อมให้สร้างใน พ.ศ. ๒๔๑๘ เป็นที่เก็บพระไตรปิฎก  และพระคัมภีร์ ต่างๆๆ  ตังอาคารสองชั้น  ก่ออิฐถือปูนมีระเบียงร้อมรอบ  หลังคาประดับช่อฟ้าใบระกา  หางหงษ์มีเชิงชาย   หน้าบันสลักลายเปลวปิดทองประดับ  ตรงกลางสลักพระพุทธรูปมหามงกุฎประดิษฐ์เหนือพานแว่นฟ้า  ปานประตูและหน้าต่าง สลักลายดอกไม้ปิดทองประดับกระจก
      พระวิหารน้อย        พระวิหารน้อยตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของพระวิหารหลวง  เป็นรูปทรงเดียวกับพระอุโบสถ  เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธดิรกโลกเชษ

 หอระฆังใหญ่


  หอระฆังใหญ่  พระสุนทรสมาจารย์  (พรม) เป็นผู้สร้าง  เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๖  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก ของพระวิหารหลวง   ฐานรูปสี่เหลี่ยม กว้าง ๘ เมตร สูง  ๓๐  เมตร ชั้นบนเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรุปบางลีลา  ชันล่างแขวนรฆัง๐  เป็นระฆังที่ใบใหญ่ที่สุดในประเทศไทย..

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น